วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นพื้นฐานความรู้ที่สําคัญในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ สาธารณสุข อุตสาหกรรม การเกษตร การผลิตอาหาร พลังงานทดแทน และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ความรู้ดังกล่าวเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคม นอกจากนี้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ชีวภาพของประเทศไทย ยังสามารถเป็นองค์ความรู้ใหม่ในประชาคมโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ยังขาดข้อมูลพื้นฐานอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากผลสืบเนื่องของการพัฒนาที่ ไม่เหมาะสม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร หรือการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีทักษะในการทําวิจัย และสามารถก้าวทันวิทยาการทาง วิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงความจําเป็นอย่างยิ่ง
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีธรรมชาติที่เป็นพหุสาขาวิชาที่ต้องบูรณาการศาสตร์หลายๆ ด้าน ซึ่ง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนารุดหน้าไปมากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เทคนิค และเครื่องมือการทําวิจัยที่ทันสมัย และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใหม่ๆ ในขณะที่บุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทยยังขาดโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้มีประสบการณ์ทัดเทียมกับความก้าวหน้าเหล่านี้ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จึงเปิดโอกาสให้บุคคลากรด้าน วิทยาศาสตรืชีวภาพได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้ที่ทํางานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง อันจะนํามาซึ่งการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ยังตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากร และปัญหาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัย ที่จะเผยแพร่ในวารสารที่มีผลกระทบสูง สร้างความรู้สู่ชุมชน การต่อยอดงานวิจัย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาชุมชนได้ตรงจุด
ปัญหาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต และการพัฒนาประเทศ นับแต่จะทวีความซับซ้อน ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องอาศัยมุมมอง และความรู้เชิงบูรณาการ ลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นพหุสาขาวิชาดังเช่น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จะเปิดโลกทัศน์ของนิสิตดุษฎีบัณฑิตให้เชื่อมโยงความรู็จากหลายแขนงในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นการเรียนการสอนลักษณะดังกล่าวจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของการผลิตความรู้พื้นฐาน และประยุกต์ ที่จะเป็นต้นทุนคลังปัญญาของประเทศสําหรับการพัฒนาที่ยังยืน และในแง่ของการฝึก ทักษะของนิสิตดุษฎีบัณฑิตให้คิดวิเคราะห์ปัญหา หรือโจทย์การวิจัยในลักษณะบูรณาการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตจะมีสมรรถนะดังนี้
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
สำหรับหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แบ่งเป็น 2 แบบดังนี้
สําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทําดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
สำหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทําดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ: หลักสูตรปริญญาเอก
ภาษาที่ใช้: หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา: รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ดี
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน): เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานทางวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน หน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ ผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอิสระ