วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา

ข้อมูลทั่วไป

ปัจจุบันมนุษย์ต้องเผชิญกับสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานและอาหาร ประเทศที่เผชิญกับความท้าทายทางการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา ซึ่งเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจุลินทรีย์ การควบคุมและการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและพลังงาน การแพทย์ เภสัชกรรม เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม เช่น
การควบคุมคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การนำจุลินทรีย์มาผลิตพลังงานทดแทน การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เพื่อพัฒนายาปฏิชีวนะและสารชนิดใหม่ที่มีประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เภสัชกรรม และเกษตรกรรม รวมทั้งการนำจุลินทรีย์มาใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ดังนั้นหลักสูตรจุลชีววิทยาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

รายละเอียดหลักสูตร

วัตถุประสงค์ขอหลักสูตร

ต้องการผลิตบัณฑิตด้านจุลชีววิทยา ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ จุลชีววิทยาพื้นฐานและพันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ จุลชีววิทยาทางการแพทย์และสาธารณสุข จุลชีววิทยาทางอาหารและอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาทางสิ่งแวดล้อม และจุลชีววิทยาทางเกษตรกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยร้อยละ 80 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถประกอบอาชีพในด้านดังกล่าวข้างต้น

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

แนวทางการประกอบอาชีพ

 

  1. พนักงานควบคุมคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  3. นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  4. อาชีพอื่นๆ ได้แก่ ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์และอาหารเลี้ยงเชื้อ และอาชีพอิสระ
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาจุลชีววิทยา)