ภาพส่วนหัวหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์) 
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Physics) 
อักษรย่อภาษาไทย : ปร.ด. (ฟิสิกส์) 
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Physics)

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาเอก 3 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 48 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

บูรณาการงานวิจัยฟิสิกส์จากรากฐานความรู้สู่นวัตกรรมด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

ความสำคัญของหลักสูตร:

ความรู้ทางด้านวิชาฟิสิกส์ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญ โดยศึกษาเกี่ยวกับปริมาณเชิงกายภาพในธรรมชาติทั้งสสารและพลังงาน และอันตรกิริยาระหว่างกัน เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระบบดั้งเดิมและฟิสิกส์แผนใหม่ซึ่งตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาสาขาวิชาฟิสิกส์ได้แสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์และเป็นพื้นฐานต่อชีวิตมนุษย์ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงน าไปใช้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และเป็นศาสตร์พื้นฐานของงานวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นการประยุกต์สู่การพัฒนาชีวิตมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ และสามารถน าไปประยุกต์ในด้านต่างๆ โดยหลักสูตรจะเน้นงานวิจัยขั้นสูง เพื่ออนาคตให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์สาขาวิชาฟิสิกส์ การศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเชิงนวัตกรรมทางฟิสิกส์จึงเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในการผลิตดุษฎีบัณฑิตทางฟิสิกส์ให้มีความรู้และความสามารถทางด้านฟิสิกส์ที่สูงขึ้น โดยมีคุณธรรม จริยธรรมและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO1.1 สามารถนำเสนอแนวคิดหลักการ ความจริงอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม ไม่บิดเบือนข้อมูล ใช้เหตุผลโต้แย้งเชิงวิชาการและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • PLO1.2 มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และมีการอ้างอิงเจ้าของแนวคิดผลงาน เมื่อต้องกล่าวถึงเจ้าของแนวคิด ผลงานนั้นเสมอ
  • PLO1.3 ตระหนักและคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวมในการทำงาน
  • PLO2.1 เข้าใจศาสตร์หลักทางฟิสิกส์ ได้แก่ กลศาสตร์คลาสสิก ทฤษฎีควอนตัม แม่เหล็กไฟฟ้า และอุณหพลศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงวิชาการโดยตรง เช่น การสอนหรืออบรมให้ความรู้ รวมไปถึงประยุกต์ใช้กับงานทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • PLO2.2 ส่งต่อความรู้สู่ผู้อื่น ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติสำหรับงานด้านฟิสิกส์พื้นฐานและฟิสิกส์เฉพาะด้านวิจัยเชิงนวัตกรรม อันได้แก่ การพัฒนาเซนเซอร์ความแม่นยำสูง (High precision sensors) โดยใช้เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum technology) เทคโนโลยีเลเซอร์ (Laser technology) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart electronics) วัสดุศาสตร์ (Materials science) รวมถึงวิจัยด้านฟิสิกส์ พลังงานและนิวเคลียร์ (Energy and nuclear physics) และมาตรวิทยาขั้นสูง (Advanced metrology) โดยอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยฟิสิกส์ระดับขอบเขต (Frontier physics) ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • PLO2.3 ปฏิบัติและประสานงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับเฉพาะด้านในการแก้ไขปัญหาที่ได้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • PLO2.4 สามารถปฏิบัติงานวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้สำเร็จลุล่วงและเผยแพร่ผลงานวิจัยพร้อมทั้งค้นหา ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้ด้วยตัวเอง
  • PLO3.1 มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ทัศนศาสตร์ การเขียนแบบ การควบคุมเครื่องจักร คอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง และการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้รวมถึงสามารถสร้างเครื่องมือขึ้นมาเองได้ เป็นต้น
  • PLO3.2 สามารถนำทักษะต่างๆ ที่เรียนรู้จากหลักสูตรไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน
  • PLO4.1 มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
  • PLO4.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  • PLO5.1 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น มีทักษะการพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม
  • PLO5.2 สามารถนำเสนอผลงานทางวิชาการและตอบข้อซักถาม รวมทั้งแสดงความคิดเห็นในระดับนานาชาติได้
  • PLO5.3 สามารถออกแบบการวิจัย ดำเนินการวิจัย และใช้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ได้หลังจบการศึกษา หรือสถานที่ทำงาน รวมถึงสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาการปฏิบัติงานทางด้านฟิสิกส์และสร้างสรรค์งานในด้านวิชาการ และรวมถึงงานในสายงานอุตสาหกรรมได้
เกณฑ์การรับเข้า:
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า 
  • มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2562 
    • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าทางฟิสิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มหาวิทยาลัยรับรอง โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 
    • มีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติโดยเป็นวารสารที่มีผู้กลั่นกรอง (Peer review) หรือตีพิมพ์ในรายงานการประชุม (proceedings) ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองฉบับเต็มอย่างน้อย1 เรื่อง 
    • การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาสิ้นสุดที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จ:

นิสิตผู้มีสิทธิ์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องผ่านเกณฑ์ ดังนี้ 

  1. ต้องสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศตามประกาศมหาวิทยาลัย 
  2. ต้องสอบผ่านวิชาเรียนครบตามหลักสูตร 
  3. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำดุษฎีนิพนธ์ เสนอดุษฎีนิพนธ์ ก่อนสิ้นสุดภาคปลายของปีการศึกษาที่ 2 และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายภายในภาคปลายของปีการศึกษาที่ 6 โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดทั้งในห้องสอบและระบบออนไลน์ให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 
  4. ผลงานดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยต้องดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะบทความฉบับเต็ม (Full paper) ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติโดยเป็นวารสารที่มีผู้กลั่นกรอง (Peer review) โดยผลงานตีพิมพ์ต้องปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ฐานข้อมูล ISI หรือ Scopus จำนวนไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง กรณีได้รับทุนต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขทุน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าข้อบังคับ ม.บูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
อาชีพที่สามารถทำได้:

ประกอบอาชีพนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรทางการศึกษาทั้งในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ในสาขาฟิสิกส์และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ รวมถึงภาคอุตสาหกรรม

ค่าธรรมเนียม:
  • นิสิตไทย เต็มเวลา แบบ 1.1 และ 2.1 210,000 บาท
  • นิสิตไทย ไม่เต็มเวลา แบบ 1.1 และ 2.1 240,000 บาท
  • นิสิตไทย เต็มเวลา แบบ 1.2 และ 2.2 280,000 บาท
  • นิสิตไทย ไม่เต็มเวลา แบบ 1.2 และ 2.2 320,000 บาท
  • นิสิตต่างชาติ แบบ 1.1 และ

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.สรายุธ เดชะปัญญา
รศ.ดร.สรายุธ เดชะปัญญา
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.ดร.ชัยศักดิ์ อิสโร
ผศ.ดร.ชัยศักดิ์ อิสโร
ผศ.ดร.ฐานวีร์ โชติจารุสวัสดิ์
ผศ.ดร.ฐานวีร์ โชติจารุสวัสดิ์
ผศ.ดร.ธนัสถา รัตนะ
ผศ.ดร.ธนัสถา รัตนะ
ผศ.ดร.นิรันดร์ วิทิตอนันต์
ผศ.ดร.นิรันดร์ วิทิตอนันต์
รศ.ดร.บุญฤทธิ์ ครุนวการ
รศ.ดร.บุญฤทธิ์ ครุนวการ
รศ.ดร.สรไกร ศรีศุภผล
รศ.ดร.สรไกร ศรีศุภผล
รศ.ดร.สรายุธ เดชะปัญญา
รศ.ดร.สรายุธ เดชะปัญญา
ผศ.ดร.สิทธิ บัวทอง
ผศ.ดร.สิทธิ บัวทอง
ผศ.ดร.อดิศร บูรณวงศ์
ผศ.ดร.อดิศร บูรณวงศ์
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร