ปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีทำให้ทุกคนต้องใช้การคิดคำนวณและเกี่ยวข้องกับตัวเลขอยู่ตลอดเวลา วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข จำนวน การคิดคำนวณต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณแล้วคณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของเทคโนโลยีทุกแขนง ทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม และ อุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น การมีนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถย่อมส่งผลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยี นอกจากนั้น คณิตศาสตร์ยังเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการให้เหตุผล กระบวนการทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการคิดและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบ และรู้จักการสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง หลักสูตรคณิตศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ เหล่านี้ และสามารถนำไปประยุกต์ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตจะมีสมรรถนะดังนี้
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
สำหรับหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์แบ่ง 3 แบบดังนี้
สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
ทำดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
ทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และ
เรียนรายวิชา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
ทำดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และ
เรียนรายวิชา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ: หลักสูตรปริญญาเอก
ภาษาที่ใช้: หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา: รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ดี
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน): เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
ดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพ นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐและ เอกชน ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน นักวิเคราะห์การเงินในบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์และธนาคาร นักวางแผนการผลิตในโรงงานต่าง ๆ และประกอบอาชีพอิสระ