วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

"มุ่งสร้างนักวิชาการหรือนักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา ที่มีความรู้ความสามารถ ตอบสนองต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อให้มีความสามารถนำความรู้ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ตลอดจนประสบการณ์ ไปประยุกต์ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชนได้อย่างเหมาะสม โดยมีคุณธรรมและจริยธรรมและการรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตนเองในระดับสูง"

ข้อมูลทั่วไป

จากเป้าหมายของการพัฒนาของประเทศ ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) รวมทั้งความตระหนักต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ต้องอาศัยความรู้ทางชีววิทยามาเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางชีววิทยา มาเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมหรือการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ และสร้างความมั่นคงของประเทศให้การหลุดพ้นจากกับดักของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านชีววิทยา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนเพื่อวางรากฐาน ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

รายละเอียดหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรต้องการผลิตบัณฑิตด้านชีววิทยา ที่มีความรู้ความสามารถด้านชีววิทยาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยร้อยละ 50 ของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้จะสามารถประกอบอาชีพในด้านดังกล่าวข้างต้น ในขณะที่ส่วนที่เหลือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือประกอบอาชีพอิสระได้

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

 

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการทางด้านชีววิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชน 
  2. นักประเมิน นักออกแบบ นักวิเคราะห์โครงการทางด้านชีววิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
  3. อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน
  4. เกษตรกร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาชีววิทยา)