ภาพส่วนหัวหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีวเคมี)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Biochemistry)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (ชีวเคมี)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc (Biochemistry)

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

0 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีวเคมี (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติของศาสตร์ชีวเคมี มีความใฝ่รู้ มีทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยทางชีวเคมีได้ มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของหลักสูตร:

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเน้นด้านการพัฒนาเข้าสู่การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) และการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (The fourth Industrial Revolution) โดยใช้กลไกการค้นคว้าวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ที่เน้นการผลิตสินค้าทางนวัตกรรมที่มีคุณค่าสูงเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Value-based Economy) กระจายรายได้โอกาส และความมั่งคั่งแบบทั่วถึง (Inclusive Growth) โดยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ "BCG Model" ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ชีวเคมีเป็นศาสตร์ที่มีจุดเด่นคือเป็นศาสตร์ที่ประกอบด้วยทั้งองค์ความรู้พื้นฐานและประยุกต์อยู่ในศาสตร์เดียวกัน จึงทำให้ชีวเคมีเป็นสาขาที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้จากศาสตร์อื่นๆ หลากหลายสาขา อาทิ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแพทย์ และการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ ซึ่งจุดเด่นนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์ความรู้ทางชีวเคมีมักถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ และด้วยเหตุที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งที่รายล้อมด้วยเขตพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม และพื้นที่เศรษฐกิจ นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้หลักสูตรมีความพร้อมที่จะส่งเสริมให้บัณฑิตมีความรู้ และมีทักษะที่จำเป็นในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่รายล้อมมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขต Eastern Economic Corridor: EEC ในกลุ่มอุตสาหกรรมทางการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เคมีและเชื้อเพลิงชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ทางชีวเคมีเข้าไปอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO1 มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และสามารถประกอบอาชีพทางด้านชีวเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้กติกาและกฎหมายที่กำหนดได้
  • PLO2 สามารถคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านชีวเคมี ในการประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างเป็นที่ยอมรับในฐานะทรัพยากรบุคคลของประเทศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือ มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ
  • PLO3 สามารถทำวิจัยตามหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีวเคมี โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าประสงค์
  • PLO4 แสดงออกถึงเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ความยืดหยุ่นทางปัญญา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการทำงานเชิงสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ เพื่อนำไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • PLO5 สามารถอธิบายถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • PLO6 มีความรับผิดชอบต่อสังคม แสดงออกซึ่งการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลในมิติต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมทำงานกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้ร่วมงานและผู้นำได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถร่วมกันแก้ปัญหาให้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO7 ประยุกต์ใช้และเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดี
  • PLO8 แสดงออกถึงความสามารถในการเลือกใช้เทคนิคและประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางชีวเคมีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เกณฑ์การรับเข้า:
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดี
  • คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่องการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  2. ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 2.00
  3. เกณฑ์อื่นๆ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการและผู้ช่วยวิจัยในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  2. ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน
  3. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  4. พนักงานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
  5. ประกอบอาชีพอิสระ
ค่าธรรมเนียม:

22,500 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

รศ.ดร.กล่าวขวัญ ศรีสุข
รศ.ดร.กล่าวขวัญ ศรีสุข
รศ.ดร.จิตติมา เจริญพานิช
รศ.ดร.จิตติมา เจริญพานิช
ผศ.ดร.ชัชวิน เพชรเลิศ
ผศ.ดร.ชัชวิน เพชรเลิศ
ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
ผศ.ดร.ผาณตา เอี้ยวซิโป
ผศ.ดร.ผาณตา เอี้ยวซิโป
ผศ.ดร.พรพรรณ อร่ามแสงเทียนชัย
ผศ.ดร.พรพรรณ อร่ามแสงเทียนชัย
ผศ.ดร.พิทักษ์ สูตรอนันต์
ผศ.ดร.พิทักษ์ สูตรอนันต์
ผศ.ดร.แวววลี โชคแสวงการ
ผศ.ดร.แวววลี โชคแสวงการ
รศ.ดร.สมชาติ แม่นปืน
รศ.ดร.สมชาติ แม่นปืน
อ.สุนทรต์ ชูลักษณ์
อ.สุนทรต์ ชูลักษณ์
ผศ.ดร.อนุตตรา อุดมประเสริฐ
ผศ.ดร.อนุตตรา อุดมประเสริฐ
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร