วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ข้อมูลทั่วไป

 

"หลักสูตรนี้มุ่งสร้างนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตรชีวภาพที่มีทักษะในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตรชีวภาพขั้นสูง สามารถบูรณาการศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลิตผลงานเชิงวิชาการที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ นอกจากนี้หลักสูตรฯ ยังมุ่งปลูกฝังการมีคุณธรรม จริธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ควบคู่การมีคุณธรรม"
 

          วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ สาธารณสุข อุตสาหกรรม การเกษตร การผลิตอาหาร พลังงานทดแทน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ความรู้ดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน
การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคม นอกจากนี้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย ยังสามารถเป็นองค์ความรู้ใหม่ในประชาคมโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยังขาดข้อมูลพื้นฐานอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากผลสืบเนื่องของการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร หรือการปนเปื้อนของสารพิษใน
อาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีทักษะในการทำวิจัย และสามารถก้าวทันวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

         วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นสาขาวิชาที่ต้องบูรณาการศาสตร์หลายด้าน ซึ่งศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนารุดหน้าไปมากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ เทคนิคและเครื่องมือการทำวิจัยที่ทันสมัยและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใหม่ ในขณะที่บุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทยยังขาดโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้มีประสบการณ์ทัดเทียมกับความก้าวหน้าเหล่านี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จึงเปิดโอกาสให้บุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนทั้งที่เน้นการวิจัย (แผน ก แบบ ก 1) และเสริมพื้นฐานความรู้ร่วมกับการทำวิจัย (แผน ก แบบ ก 2) อันจะนำมาซึ่งการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ยังตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากร และปัญหาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัย ที่จะเผยแพร่ในวารสารที่มีผลกระทบสูง สร้างความรู้สู่ชุมชน การต่อยอดงานวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและแก้ปัญหาชุมชนได้ตรงจุด

รายละเอียดหลักสูตร

 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ มหาบัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้

  1. สามารถแสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
  2. มีวินัย เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีความเข้าใจและตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น และสังคม
  3. มีความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพขั้นสูง สามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
  4. สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพในรูปแบบต่างๆ ที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
  5. มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าเชิงวิชาการและวิทยาการสมัยใหม่ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้อย่างเป็นระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์
  6. สามารถแสดงออกถึงภาวะการเป็นผู้นำ การมีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และมีทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  • แผน ก แบบ ก 1                      36 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก 2    ไม่น้อยกว่า  36 หน่วยกิต

 

 รูปแบบของหลักสูตร 

  • รูปแบบ:  หลักสูตรปริญญาโท
  • ภาษาที่ใช้: หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
  • การรับเข้าศึกษา: รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ดี
  • ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน): เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

 

 ระบบการจัดการศึกษา

  • ระบบทวิภาคระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
  • ไม่มีภาคฤดูร้อน

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • อาจารย์
  • นักวิชาการ
  • นักวิทยาศาสตร์
  • นักวิจัย
  • ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
     
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)