ภาพส่วนหัวหลักสูตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Master of Science (Food Science and Technology)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: M.Sc. (Food Science and Techn

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

ไม่ได้ระบุ

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

จํานวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 

  • แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต 
  • แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

สร้างและพัฒนามหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเพื่อการพัฒนางานและสังคม โดยสามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้สามารถสืบค้น ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้วยตัวเอง คิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ดําเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างนวัตกรรม โดยสามารถประยุกต์กับกระบวนงานทางธุรกิจได้

ความสำคัญของหลักสูตร:

อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตผลทางการเกษตรซึ่งเป็นฐานหลักของการพัฒนาประเทศ และกระจายรายได้สู่ภาคเกษตรกรรมและภาคแรงงานซึ่งครอบคลุมประชาคมจํานวนมาก รวมทั้งต้องตอบสนองความต้องการอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลาย ทั้งสําหรับผู้บริโภคภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจําเป็นในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารในระดับสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมของทรัพยากรบุคคลให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO 1.1 ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ 
  • PLO 1.2 แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม รวมทั้งสามารถวินิจฉัยและจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านคุณธรรมจริยธรรมได้ 
  • PLO 2.1 สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม 
  • PLO 2.2 สามารถคิดแบบองค์รวม มีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการด้านอุตสาหกรรมอาหารและการจัดการเชิงธุรกิจ โดยสามารถเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้ 
  • PLO 3.1 สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา โดยการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้อย่างถูกต้อง 
  • PLO 3.2 สามารถประเมินวิธีและแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้อย่างสร้างสรรค์ 
  • PLO 3.3 สามารถสืบค้น ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถเชื่อมโยงศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร และวางแผนทําวิจัยได้ 
  • PLO 3.4 สามารถทําวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารโดยสามารถประยุกต์กับกระบวนงานทางธุรกิจได้ 
  • PLO 4.1 รับผิดชอบงานของตนเอง โดยทํางานที่ได้รับมอบหมายได้สําเร็จ 
  • PLO 4.2 สามารถประสานงานและเป็นผู้นําได้อย่างเหมาะสมตามโอกาส 
  • PLO 4.3 สามารถประเมินตนเองและวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 
  • PLO 5.1 สามารถคัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่ออภิปรายและสรุปได้ 
  • PLO 5.2 สามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ 
  • PLO 5.3 สามารถนําเสนอผลงานในรูปแบบวิทยานิพนธ์ การตีพิมพ์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 

แผน ก แบบ ก1 

  • เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพาว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 
  • เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.75 หรือ
  • เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การวิจัยหรือมีผลงานวิจัยตพิมพ์ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้ผู้สําเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร 

แผน ก แบบ ก2 

  • เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพาว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 
  • เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาวิชาอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.50 
    ทั้งนี้ผู้สําเร็จการศึกษาในบางสาขา อาจต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจํานวนหน่วยกิตที่กําหนดไว้ในหลักสูตร 
  2. ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 
  3. ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย 
  4. สอบวิทยานิพนธ์ผ่านและส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่จัดพิมพ์แก้ไขปรับปรุงแล้วจากระบบ i-Thesis 
  5. การเผยแพร่ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
  6. เกณฑ์อื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี)
อาชีพที่สามารถทำได้:

สามารถประกอบอาชีพนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ในภาคอุตสาหกรรมอาหารและหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร และสามารถประกอบธุรกิจ รวมถึงศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ค่าธรรมเนียม:
  • นิสิตไทย เต็มเวลา 120,000 บาท 
  • นิสิตไทย ไม่เต็มเวลา 140,000 บาท 
  • นิสิตต่างชาติ 400,000 บาท

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.ดร.ภัควัฒน์  เดชชีวะ
ผศ.ดร.ภัควัฒน์ เดชชีวะ
ผศ.ดร.ลลิตา  โชติพฤฒิพงศ์
ผศ.ดร.ลลิตา โชติพฤฒิพงศ์
ผศ.ดร.วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
ผศ.ดร.วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
อ.ดร.สิริมา ชินสาร
อ.ดร.สิริมา ชินสาร
ผศ.ดร.อรอง จักกะพาก จันทร์ประสาทสุข
ผศ.ดร.อรอง จักกะพาก จันทร์ประสาทสุข
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร