ภาพส่วนหัวหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Creative Science and Innovation)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Cre

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

มุ่งสร้างบัณฑิตนวัตกรที่มีความรอบรู้แบบบูรณาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีรวมถึงการบริหารจัดการความรู้ เทคโนโลยี และผลผลิตที่ได้จากนวัตกรรม สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างนวัตกรรม ด้วยการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-based Education) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ใช้วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning-by-doing approach) ให้อิสระในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และใช้แนวทางสหกิจศึกษาและการเรียนรู้บูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work-Integrated Education) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ที่เป็นที่ยอมรับ สร้างสํานึกรับผิดชอบต่อสังคม และเพิ่มทักษะให้สนองตอบการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างยั่งยืน

ความสำคัญของหลักสูตร:

จากเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อุตสาหกรรมเป้าหมาย 10+2 ได้แก่ การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และการเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม 2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4) อุตสาหกรรมดิจิทัล 5) อุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร รวมถึง อุตสาหกรรมที่เพิ่มเข้ามาใหม่คือ 1) อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และ 2) คืออุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา โดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) นั้น ที่มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ทําให้องค์กรสามารถแข่งขันในระดับโลกได้นั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม เป็นหลักสูตรที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมในบริบท ปัจจุบัน ที่ผู้เรียนจะต้องมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีการแข่งขันสูง รู้จักเริ่มต้นการทํางานที่มองเป้าหมายความสําเร็จ เป็นสําคัญ (Begin with the end in mind) สามารถออกแบบการเรียนรู้และสมรรถนะที่คิดหวังของตนเอง ทํางานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมการคิด วัฒนธรรมการทํางาน วัฒนธรรม ครอบครัว และใช้ประโยชน์จากโอกาสรอบ ๆ ตัว โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อสังคม เพิ่มคุณค่าและสร้าง มูลค่าให้กับองค์กร

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO1 สามารถอธิบายความรับผิดชอบทางจริยธรรมและวิชาชีพ และผลกระทบของการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในบริบทระดับโลก เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม (SO) 
  • PLO2 สามารถอธิบายสรุปใจความของสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ (SO) 
  • PLO3 สามารถตรวจวัดตัวอย่างด้วยเทคนิคและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อการวิเคราะห์ การพิสูจน์ และการตรวจสอบคุณภาพ (SO) 
  • PLO4 สามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหาขององค์กรโดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ (SO) 
  • PLO5 สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงของข้อสมมุติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นข้อสรุปที่ชัดเจน (SO) 
  • PLO6 สามารถจัดทําแผนการสร้างนวัตกรรมหรือแผนธุรกิจใหม่ โดยบูรณาการความรู้และทักษะทางเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และศาสตร์อื่น (SO) 
  • PLO7 สามารถทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลในการทํางานเป็นทีมที่ได้ร่วมกําหนดเป้าหมาย วางแผนการทํางาน และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (GO) 
  • PLO8 สามารถแสดงถึงการใฝ่เรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ เพื่อพร้อมปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต (GO) PLO9 สามารถสื่อสารความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ผู้อื่นที่มีความรู้ พื้นฐานที่หลากหลาย ด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง (GO)
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 
  2. กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ ต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดี 
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจํานวนหน่วยกิตที่กําหนดไว้ในหลักสูตร 
  2. ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ํา 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 
  3. เกณฑ์อื่น ๆ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เอกสารแนบภาคผนวก)
อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. นักออกแบบด้านนวัตกรรม โดยทําหน้าที่ในฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กรต่าง ๆ 
  2. นักวิจัยเครื่องสําอางและสมุนไพร โดยทําหน้าที่ในฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ด้านเครื่องสําอางและสมุนไพรใหม่ 
  3. นักพัฒนาวัสดุสมัยใหม่ โดยทําหน้าที่ในฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้วัสดุที่ตอบโจทย์กับความต้องการ 
  4. นักพัฒนาอาหารสําหรับอนาคต โดยทําหน่าที่ในฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตหรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร 
  5. นักพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยทําหน้าที่ในฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อหาเทคนิคการวิเคราะห์แบบใหม่ 
  6. นักจัดการนวัตกรรม โดยทําหน้าที่ในฝ่ายเทคนิคหรือฝ่ายบริหาร เพื่อบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร 
  7. นักจัดการด้านพลังงาน โดยทําหน้าที่ในฝ่ายเทคนิคหรือวิศวกรรม เพื่อบริหารต้นทุนทางด้านพลังงาน 
  8. นักวิเคราะห์โครงการด้านวิจัยและพัฒนา โดยทําหน้าที่ในฝ่ายบริหารโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา 
  9. ผู้จัดการทางเทคโนโลยีโดยทําหน้าที่ในฝ่ายบริหาร เพื่อประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผลิตและจัดการนวัตกรรม 
  10. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค โดยทําหน้าที่ในฝ่ายเทคนิคหรือฝ่ายบริหารเพื่อสนับสนุนงานด้านนวัตกรรม 
  11. ผู้ประกอบการนวัตกรรม ที่เปิดกิจการ หรือเป็นประกอบอาชีพอิสระเกี่ยวกับธุรกิจนวัตกรรม
ค่าธรรมเนียม:

22,500 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.เอกรัฐ ศรีสุข
ผศ.ดร.เอกรัฐ ศรีสุข
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.ดร.ณรงค์ อึ้งกิมบ้วน
ผศ.ดร.ณรงค์ อึ้งกิมบ้วน
ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
ผศ.ดร.ทรงกลด สารภูษิต
รศ.ดร.ธนิดา ตระกูลสุจริตโชค
รศ.ดร.ธนิดา ตระกูลสุจริตโชค
อ.ดร.นวศิษฏ์ รักษ์บำรุง
อ.ดร.นวศิษฏ์ รักษ์บำรุง
ผศ.ดร.นิรมล ปัญญ์บุศยกุล
ผศ.ดร.นิรมล ปัญญ์บุศยกุล
อ.ปริยา ปะบุญเรือง
อ.ปริยา ปะบุญเรือง
ผศ.ดร.พอจิต นันทนาวัฒน์
ผศ.ดร.พอจิต นันทนาวัฒน์
รศ.ดร.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ
รศ.ดร.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ
ผศ.ดร.ภรณี ศรีปรีชาศักดิ์
ผศ.ดร.ภรณี ศรีปรีชาศักดิ์
อ.ภาณุพงศ์ บุญเพียร
อ.ภาณุพงศ์ บุญเพียร
รศ.ดร.รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
รศ.ดร.รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
ผศ.ดร.อนันต์ อธิพรชัย
ผศ.ดร.อนันต์ อธิพรชัย
ผศ.ดร.อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
ผศ.ดร.อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ไชยโรจน์วัฒนา
ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ไชยโรจน์วัฒนา
ผศ.ดร.เอกรัฐ ศรีสุข
ผศ.ดร.เอกรัฐ ศรีสุข
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร เว็บไซต์หลักสูตร วิดีทัศน์แนะนำหลักสูตร