คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนและการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อกระจายการพัฒนา ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ทั่วถึง ซึ่งนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และเขตจังหวัดอื่นที่ติดต่อหรือเกี่ยวข้อง ซึ่งมีศักยภาพ ในการพัฒนาด้วยความพร้อมด้านการคมนาคม การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน ความต้องการของ ผู้ประกอบการ การจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ และความเชื่อมโยงกับศูนย์กลางเศรษฐกิจอื่น ๆ แต่โดยที่ การดำเนินการดังกล่าวอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีจึงมีความจำเป็นต้องกำหนด มาตรการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกขึ้นเพื่อดำเนินการไปพลางก่อนการบังคับใช้ กฎหมายว่าด้วยการนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม อนึ่ง ในการเตรียมความพร้อมบุคลากรในพื้นที่ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเยาวชนในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ประกอบกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานในสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐที่อยู่ในเขตพื้นที่ ที่มีพันธกิจสำคัญในการให้บริการวิชาการแก่เยาวชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งยังมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่สอดรับกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ดังนั้น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้สำเร็จ อันจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างความตระหนักและตื่นตัวให้กับเยาวชน ในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาต่อไป
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จากโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จำนวน 500 คน