โครงการ 360° มุมมองงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่

[ ภาพกิจกรรม ]

       ด้วยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมและผลักดันงานวิจัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตาม นโยบายและแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๗ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๖๗) รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๖๙ ว่าด้วยการส่งเสริมการวิจัย ขับเคลื่อน ผลักดัน และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นั้น

       เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายตามแผนงานดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การดำเนินงานวิจัยร่วมกับพื้นที่ชุมชน มาบรรยายและร่วมเสวนา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการวิจัยร่วมกับชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้อง CL 202 อาคารปฏิบัติการพื้นฐานและศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การดำเนินงานวิจัยร่วมกับพื้นที่ชุมชน ร่วมบรรยายและเสวนา ดังนี้

       รองศาสตราจารย์ ดร. วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางและกรอบการวิจัยในระดับประเทศ แพลตฟอร์มการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ จากมุมมองของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)”

       ดร.สุพจน์ อาวาส ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางและกรอบการวิจัยในระดับประเทศ แพลตฟอร์มการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management, KM)

       ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางและกรอบการวิจัยในระดับประเทศ แพลตฟอร์มเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue economy)

       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันศุกร์ เสนานาญ อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “กรอบการให้ทุนวิจัยเงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ประเภทการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่”

       การเสวนา เรื่อง การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยจากมุมมองของชุมชน โดย คุณกิตติพงษ์ ไตรบุญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดชลบุรี, พ.จ.อ. สาคร โพธิ์ดำ เลขาธิการเครือข่ายผู้บริหาร เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, นายมานะ กมลธเนศ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองแสนสุข และคุณนิสากร วิเวกวินย์ นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการพิเศษ เทศบาลเมืองแสนสุข ผู้ดำเนินรายการ

       การเสวนา เรื่อง การทำวิจัยร่วมกับชุมชนจากมุมมองของนักวิจัย และบทบาทของนิสิตในการร่วมการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สลิล ชั้นโรจน์ อาจารย์ประจำสำนักงานการศึกษา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญรัตน์ ประทุมชาติ อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาวดี สุริยพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันศุกร์ เสนานาญ อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ

        ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดโครงการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ อธิพรชัย รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ กล่าวสรุปและปิดโครงการ

----------------------------------
📌คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
----------------------------------
🔸วิสัยทัศน์
“องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”
“Science Innovation for Better Sustainable Society”
----------------------------------
🔸ค่านิยมองค์กร AGILE
A = Accountability (สังคมศรัทธา)
G = Global Mindset (พัฒนาสู่สากล)
I = Innovative Thinking (คิดค้นนวัตกรรม)
L = Life-Long Learning (วัฒนธรรมการเรียนรู้)
E = Effectiveness (มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์)
----------------------------------
🔸วัฒนธรรมองค์กร :
"มุ่งมั่น มีเหตุผล คนภูมิบูรพา” "Devoted-Thoughtful-Proud of BUU"