ภาพส่วนหัวหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา) 
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Biology) 
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (ชีววิทยา) 
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Biology)

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของศาสตร์ชีววิทยา มีทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยทางชีววิทยาได้มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีด้านชีววิทยามาแก้โจทย์วิจัยในปัจจุบัน มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ มีทัศนคติที่ดีต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่นเพื่อสร้างผลงานวิจัยทางชีววิทยาที่มีคุณภาพ มีทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้ทางชีววิทยาที่ได้จากงานวิจัยให้แก่ประชาคมนักวิทยาศาสตร์และประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของตลาดงานปัจจุบันในระดับชาติและนานาชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความสำคัญของหลักสูตร:

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการติดต่อระหว่างนักวิจัยในสมาคมวิทยาศาสตร์มากขึ้นทําให้การศึกษาศาสตร์ทางชีววิทยามีความก้าวหน้าไปอย่างมากและมีการแข่งขันที่สูงในระดับนานาชาติ ประเทศไทยมีทรัพยากรทางชีวภาพที่พร้อมสําหรับการค้นพบทางชีววิทยาแต่ยังขาดนักวิจัยที่มีทักษะจําเป็นต่อการวิจัยพื้นฐานทางชีววิทยาและขาดความพร้อมในการประกอบอาชีพในสายวิจัยและสายวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกําลังคนในกลุ่มนักวิจัยสมัยใหม่ทางชีววิทยาที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติที่เพียงพอต่อการเข้าสู่สมาคมวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO 1 แก้ปัญหาทางชีววิทยาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและความรับผิดชอบทางวิชาการ
  • PLO 2 ผลิตผลงานวิจัยด้านชีววิทยาบนพื้นฐานของจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร ปฏิบัติตามกฏระเบียบของสังคมด้านความรู้
  • PLO 3 อธิบายหลักการ ทฤษฎีทางชีววิทยาได้อย่างถูกต้องโดยครอบคลุม โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ พันธุศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของพืชและสัตว์ วิวัฒนาการ นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
  • PLO 4 ใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ และเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  • PLO 5 อธิบายความก้าวหน้า ความรู้เฉพาะด้านทางชีววิทยา ติดตามงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหรือการต่อยอดองค์ความรู้ทางชีววิทยา
  • PLO 6 คิดเชิงวิพากษ์ วิเคราะห์และวิจารณ์ข้อมูลทางชีววิทยาที่รับมาได้อย่างมีเหตุผล
  • PLO 7 ออกแบบโครงงานวิจัยทางชีววิทยา ตั้งสมมติฐาน ปฏิบัติ และวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองวิจัยด้วยตนเองได้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • PLO 8 ทํางานร่วมกับผู้อื่น นักวิจัยหรือบุคลากรในสถานประกอบการที่มีประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาทางชีววิทยาได้ และแสดงออกถึงทัศนคติที่ดีต่อการทํางานด้านชีววิทยาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • PLO 9 สืบค้น และตรวจสอบข้อมูลที่ทันสมัยทางชีววิทยาจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีการใช้ความรู้ทางสถิติ คณิตศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์มาร่วมวิเคราะห์ให้ถูกต้อง แม่นยํา และเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • PLO 10 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนําเสนอข้อมูลจากการประมวลความรู้ทางชีววิทยาให้กับผู้เรียนร่วมชั้นเรียน คณาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุม และบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 
  2. กรณีชาวต่างชาติ ต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดี 
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจํานวนหน่วยกิตที่กําหนดไว้ในหลักสูตร
  2. ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 
  3. เกณฑ์อื่นๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการทางด้านชีววิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชน 
  2. นักประเมิน นักออกแบบ นักวิเคราะห์โครงการทางด้านชีววิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย 
  3. อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน เมื่อศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข่องในระดับที่สูงขึ้น 
  4. ผู้ประกอบการ หรือ ทํางานร่วมกับสถานประกอบการที่ต้องใช้ความรู้ทางชีววิทยา
ค่าธรรมเนียม:

23,000 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.วรนพ สุขภารังษี
รศ.ดร.วรนพ สุขภารังษี
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

อ.ดร.ก้องภพ ภรันยากุล
อ.ดร.ก้องภพ ภรันยากุล
ศ.ดร.กันทิมา สุวรรณพงศ์
ศ.ดร.กันทิมา สุวรรณพงศ์
ผศ.ดร.จันทิมา ปิยะพงษ์
ผศ.ดร.จันทิมา ปิยะพงษ์
ผศ.ดร.ชูตา บุญภักดี
ผศ.ดร.ชูตา บุญภักดี
ผศ.ดร.ดวงตา จุลศิริกุล
ผศ.ดร.ดวงตา จุลศิริกุล
อ.ดร.นุชจรินทร์ แกล้วกล้า
อ.ดร.นุชจรินทร์ แกล้วกล้า
รศ.ดร.เพียงพักตร์ สุขรักษ์
รศ.ดร.เพียงพักตร์ สุขรักษ์
ผศ.ดร.ภาคภูมิ พระประเสริฐ
ผศ.ดร.ภาคภูมิ พระประเสริฐ
รศ.ดร.วรนพ สุขภารังษี
รศ.ดร.วรนพ สุขภารังษี
รศ.ดร.วาสินี พงษ์ประยูร
รศ.ดร.วาสินี พงษ์ประยูร
ผศ.ดร.วิสาตรี คงเจริญสุนทร
ผศ.ดร.วิสาตรี คงเจริญสุนทร
ผศ.ดร.ศิรศาธิญากร บรรหาร
ผศ.ดร.ศิรศาธิญากร บรรหาร
ผศ.ดร.สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
ผศ.ดร.สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
อ.ดร.สิริกมล  พลายงาม
อ.ดร.สิริกมล พลายงาม
ผศ.ดร.สุดารัตน์ ถาราช
ผศ.ดร.สุดารัตน์ ถาราช
รศ.ดร.สุทิน กิ่งทอง
รศ.ดร.สุทิน กิ่งทอง
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร