ภาพส่วนหัวหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา) 
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Microbiology) 
อักษรย่อภาษาไทย : วท.บ. (จุลชีววิทยา) 
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Microbiology)

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านจุลชีววิทยา ที่สามารถปฏิบัติงานตามหลักมาตรฐานสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็น ทำเป็น มีความซื่อสัตย์ สุจริต และพร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม

ความสำคัญของหลักสูตร:

สถานการณ์ปัจจุบันของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำมาซึ่งปัญหาอันมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ประเทศที่เผชิญกับความท้าทายทางการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างฐานความรู้และทักษะปฏิบัติทางจุลชีววิทยาเพื่อการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์และการควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมจุลินทรีย์ด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร การผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ พลังงานชีวภาพ การแพทย์ เภสัชกรรม เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO 1 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมและอาชีพ โดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น ค่านิยมพื้นฐานและจรรยาบรรณในอาชีพ แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมในประเด็นความซื่อสัตย์สุจริตและเสียสละ แสดงความกล้าหาญในการยึดมั่นต่อผลการปฏิบัติงานด้านจุลชีววิทยา มีวินัย มีความอดทน และมีจิตสาธารณะ
  • PLO 2 อธิบายความรู้ทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และสาธารณสุข อาหารและอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมได้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรมด้านจุลชีววิทยาแขนงต่าง ๆ และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาทางด้านจุลชีววิทยาและการต่อยอดองค์ความรู้
  • PLO 3 มีทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านจุลชีววิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการความรู้ด้านจุลชีววิทยาได้อย่างเหมาะสม มีความคิดริเริ่มเพื่อนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยามาใช้ในการสร้างหรือร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และมีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมสำหรับชีวิตวิถีใหม่ในสังคมยุคดิจิทัล
  • PLO 4 สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างสร้างสรรค์แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ
  • PLO 5 มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขในการศึกษาค้นคว้าและแก้ไขปัญหาทางด้านจุลชีววิทยา สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมายและนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะด้านการใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • PLO 6 มีความสามารถปฏิบัติงานด้านจุลชีววิทยาพื้นฐานได้ครบทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีทักษะในการตรวจสอบจุลินทรีย์ด้วยวิธีมาตรฐานระดับสากล และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Technology)
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าสายวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ 
  2. มีคุณสมบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
  3. กรณีที่เป็นชาวต่างชาติต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าด้านวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์และสามารถใช้ภาษาไทยในการศึกษาได้ดี
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  2. ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
  3. เกณฑ์อื่นๆ ดังนี้ 
    • เมื่อสิ้นสุดแต่ละปีการศึกษา (ปีที่ 1-4) นิสิตต้องเข้ารับการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนาศักยภาพนิสิตที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร 
    • ผ่านการฝึกงานไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง หรือผ่านการเรียนรายวิชาเอกเลือกกลุ่มการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงานครบตามที่กำหนด 
    • เกณฑ์อื่นๆ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. พนักงานควบคุมคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. พนักงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  4. นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  5. ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์อาหารเลี้ยงเชื้อ และสารเคมี
  6. ผู้ประกอบการอิสระทางจุลชีววิทยา
ค่าธรรมเนียม:

24,000 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

ผศ.นิสา ไกรรักษ์
ผศ.นิสา ไกรรักษ์
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.นิสา ไกรรักษ์
ผศ.นิสา ไกรรักษ์
อ.ปริยา ปะบุญเรือง
อ.ปริยา ปะบุญเรือง
อ.ปุญญิศา วัฒนะชัย
อ.ปุญญิศา วัฒนะชัย
อ.ดร.พัชรนันท์ อมรรัตนพันธ์
อ.ดร.พัชรนันท์ อมรรัตนพันธ์
อ.ดร.วิมลรัตน์ ปานเพ็ชร
อ.ดร.วิมลรัตน์ ปานเพ็ชร
ผศ.สุดสายชล หอมทอง
ผศ.สุดสายชล หอมทอง
ผศ.ดร.สุดารัตน์ สวนจิตร
ผศ.ดร.สุดารัตน์ สวนจิตร
ผศ.ดร.อุมาพร ทาไธสง
ผศ.ดร.อุมาพร ทาไธสง
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร