ภาพส่วนหัวหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Food Science and Technology)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Food Science and Techno

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

0 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร สามารถประยุกต์ความรู้คิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรมอาหาร และร่วมสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ประพฤติตนตามจรรยาบรรณอาชีพ มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหาร

ความสำคัญของหลักสูตร:

อุตสาหกรรมอาหาร จัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติให้มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพาที่ตั้งอยูํในเขตโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการแปรรูป การประกันคุณภาพ มาตรฐานและกฎหมายอาหาร รวมทั้งมีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย รวมทั้งร่วมสร้างนวัตกรรมด้านอาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคตะวันออกของประเทศ รวมทั้งประเทศไทยในภาพรวม นอกจากนั้น การเป็นผู้ที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารไป ประกอบอาชีพ ทั้งการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจของตนเอง ยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง และประเทศชาติในภาครวม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มีโครงสร้างหลักสูตรที่ประกอบด้วยรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รายวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ด้านการประกันคุณภาพอาหาร ด้านบริหารจัดการความปลอดภัยอาหาร ด้านการวิจัย ด้านความรู๎เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร และการจัดการซัพพลายเชนอาหารและโลจิสติกส์ รวมทั้งการเพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิชาชีพด้วยการฝึกงานหรือเรียนการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงาน โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีความคิดริเริ่มต่อยอด ประพฤติตนตามจรรยาบรรณอาชีพ และสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO1.1 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณอาชีพของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร 
  • PLO1.2 แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม PLO2.1 อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้ 
  • PLO2.2 อธิบายธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางวิชาการ ที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 
  • PLO3.1 ติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง 
  • PLO3.2 วิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอาหาร 
  • PLO3.3 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารได้ 
  • PLO3.4 พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ หรือร่วมสร้างนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหาร 
  • PLO3.5 ประยุกต์ความรู้ไปสู่การทำธุรกิจหรือหารายได้ 
  • PLO4.1 มีความรับผิดชอบและทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ 
  • PLO4.2 ทำงานรํวมกับผู้อื่นได้ 
  • PLO4.3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยความสมัครใจ 
  • PLO5.1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และสถิติได้ 
  • PLO5.2 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้ 
  • PLO5.3 สื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ 
  • PLO 6.1 สามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร โดยนำความรู้จากสถาบันการศึกษาไปใช๎ในการทำงานในสถานประกอบการ พร้อมทั้งนำประสบการณ์ จากทำงานงานมาเป็นประเด็นในการเรียนรู้
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 
  2. กรณีชาวต่างชาติ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดี 
  3. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบรูพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จ:

ตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 ข้อ 30 เรื่อง เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา (เอกสารแนบหมายเลข 6)

อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารหรือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร 
  2. พนักงานขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพอาหาร 
  3. ผู้ตรวจสอบมาตรฐานอาหารทั้งในองค์กรของรัฐและเอกชน 
  4. นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์นักวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารในหน่วยงานของรัฐและเอกชน 
  5. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวเจ้าของธุรกิจ หรือที่ปรึกษาในด้านผลิตภัณฑ์อาหาร
ค่าธรรมเนียม:

22,500 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.ดร.นิรมล ปัญญ์บุศยกุล
ผศ.ดร.นิรมล ปัญญ์บุศยกุล
ผศ.ดร.ภัควัฒน์  เดชชีวะ
ผศ.ดร.ภัควัฒน์ เดชชีวะ
ผศ.ดร.ลลิตา  โชติพฤฒิพงศ์
ผศ.ดร.ลลิตา โชติพฤฒิพงศ์
ผศ.ดร.วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
ผศ.ดร.วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ผศ.ดร.ศนิ จิระสถิตย์
ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
ผศ.ดร.สามารถ สายอุต
อ.ดร.สิริมา ชินสาร
อ.ดร.สิริมา ชินสาร
อ.ดร.อโนชา สุขสมบูรณ์
อ.ดร.อโนชา สุขสมบูรณ์
ผศ.ดร.อรอง จักกะพาก จันทร์ประสาทสุข
ผศ.ดร.อรอง จักกะพาก จันทร์ประสาทสุข
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร