ภาพส่วนหัวหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ชื่อวุฒิ:

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์) 
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Mathematics) 
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (คณิตศาสตร์) 
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Mathematics) 

สถานที่เรียน:

มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน

ประเภทหลักสูตร:

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่สำเร็จ:

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

รายละเอียดเพิ่มเติม
ปรัชญาหลักสูตร:

หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบุคลากร และนักวิชาการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบอาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม สามารถทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้กับภาครัฐและภาคเอกชน สนองความต้องการกำลังคนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจตามนโยบายของประเทศ

ความสำคัญของหลักสูตร:

ยุคเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นยุคที่ทำให้ทุกคนต้องใช้การคิดคำนวณและเกี่ยวข้องกับตัวเลขอยู่ ตลอดเวลา วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข จำนวน การคิดคำนวณต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณแล้ว คณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของเทคโนโลยีทุกแขนง ทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น การมีนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถย่อมส่งผลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยี นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการให้เหตุผล กระบวนการทางคณิตศาสตร์ จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการคิดและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบ และรู้จักการสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง หลักสูตรคณิตศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ เหล่านี้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้:
  • PLO1.1 ปฏิบัติตนตามระเบียบกฎเกณฑ์และข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และมีความตรงต่อเวลา 
  • PLO1.2 ปฏิบัติตนตามจริยธรรมทางวิชาการและเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา 
  • PLO2.1 อธิบายความรู้ และทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับแคลคูลัส หลักการพิสูจน์ พีชคณิต การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ การหาคำตอบของสมการทั้งแบบผลเฉลยแท้จริงและผลเฉลยเชิงประมาณค่าได้ 
  • PLO2.2 อธิบายทฤษฎีคณิตศาสตร์จากแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษได้ 
  • PLO3.1 ประยุกต์ความรู้และทฤษฎีด้านคณิตศาสตร์เพื่อแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างง่ายได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม 
  • PLO3.2 ประยุกต์หลักการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม 
  • PLO3.3 ประยุกต์หลักการทางคณิตศาสตร์ในการแก้โจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
  • PLO3.4 ใช้ความรู้และทฤษฎีทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลภายใต้เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออกได้ 
  • PLO4.1 ปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและสังคม 
  • PLO4.2 ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นทั้งในบทบาทฐานะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้ 
  • PLO5.1 เลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในการนำเสนอแบบบรรยาย รายงาน หรือแสดงผลข้อมูลเป็น ภาพอินโฟกราฟิก ที่สื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย 
  • PLO5.2 สื่อสารเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ทั้งการพูดและเขียนเป็นภาษาไทยไปยังผู้ที่เชี่ยวชาญและไม่ เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 
  • PLO5.3 สื่อสารคณิตศาสตร์ในการพูดหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษไปยังผู้ที่เชี่ยวชาญและไม่เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ได้ 
  • PLO5.4 สืบค้นข้อมูลและความรู้ใหม่เชิงวิชาการเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
  • PLO6.1 ใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์หรือทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ อย่างถูกต้อง 
  • PLO6.2 จัดลำดับความสำคัญของวิธีการหรือขั้นตอนตามกฎทางคณิตศาสตร์ที่มีหรือกฎที่สร้างขึ้นได้
เกณฑ์การรับเข้า:
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 
  2. กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดี 
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เกณฑ์การสำเร็จ:
  1. เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 
  2. ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 
  3. เกณฑ์อื่น ๆ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาชีพที่สามารถทำได้:
  1. นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน 
  2. ครู อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน 
  3. นักคณิตศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
  4. นักวิเคราะห์การเงินในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนาคารและสถาบันการเงิน 
  5. นักวางแผนการผลิตในโรงงาน 6. นักเขียนโปรแกรม นักทดสอบโปรแกรม
ค่าธรรมเนียม:

22500 บาท

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ลี ศาสนพิทักษ์
ผศ.ดร.ลี ศาสนพิทักษ์
ประธานหลักสูตร

กรรมการหลักสูตร

ผศ.ดร.จุฑารัตน์ คงสอน
ผศ.ดร.จุฑารัตน์ คงสอน
ผศ.ดร.ชาติไทย ไทยประยูร
ผศ.ดร.ชาติไทย ไทยประยูร
ผศ.ดร.ดวงกมล ผลเต็ม
ผศ.ดร.ดวงกมล ผลเต็ม
รศ.ดร.เดชชาติ สามารถ
รศ.ดร.เดชชาติ สามารถ
ผศ.ดร.บัณฑิตา ฉัตรเท
ผศ.ดร.บัณฑิตา ฉัตรเท
ผศ.ดร.ปรียานุช เชื้อสุข
ผศ.ดร.ปรียานุช เชื้อสุข
ผศ.ดร.ภคินกร พูนพายัพ
ผศ.ดร.ภคินกร พูนพายัพ
ผศ.ดร.รักพร ดอกจันทร์
ผศ.ดร.รักพร ดอกจันทร์
ผศ.ดร.ลี ศาสนพิทักษ์
ผศ.ดร.ลี ศาสนพิทักษ์
ผศ.ดร.สมคิด อินเทพ
ผศ.ดร.สมคิด อินเทพ
ผศ.ดร.สาธินี เลิศประไพ
ผศ.ดร.สาธินี เลิศประไพ
ผศ.ดร.สินีนาฏ ศรีมงคล
ผศ.ดร.สินีนาฏ ศรีมงคล
ผศ.ดร.อภิชาติ เนียมวงษ์
ผศ.ดร.อภิชาติ เนียมวงษ์
รศ.ดร.อภิสิทธิ์ ภคพงศ์พันธุ์
รศ.ดร.อภิสิทธิ์ ภคพงศ์พันธุ์
ผศ.ดร.อรรณพ แก้วขาว
ผศ.ดร.อรรณพ แก้วขาว
ผศ.ดร.อารยา วิวัฒน์วานิช
ผศ.ดร.อารยา วิวัฒน์วานิช
ผศ.ดร.อารีรักษ์ ชัยวร
ผศ.ดร.อารีรักษ์ ชัยวร
เอกสารหลักสูตร
แผนการเรียน เล่มหลักสูตร