โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา - สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ - อพวช.
SST - NSM Science Project

ส่งไฟล์ยืนยันการเข้าร่วมการประกวดโครงงาน (ตั้งแต่บัดนี้ -7 ส.ค. 2566 ภายในเวลา 23.59 น.)

** เวลา 08.00 น. ลงทะเบียนและติดตั้งผลงาน
ณ โถงชั้น ๑  อาคารปฏิบัติการพื้นฐานและศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 
** ขอให้ผู้เข้าร่วมประกวด เตรียมบัตรประจำตัวนักเรียน และ เอกสารใบสมัคร บทคัดย่อ ข้อเสนอโครงงาน และรายงานโครงงาน จำนวน 1 ชุด มาในวันที่ประกวดด้วย


1. ประเภทของโครงงาน

    1.1 โครงงานที่ส่งประกวด ต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และ/ หรือเทคโนโลยี  ซึ่งอาจเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง การสำรวจข้อมูล งานพิสูจน์ทฤษฎี หรือ ชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้น

    1.2 ประเภทของโครงงาน ในทั้ง 2 ระดับ (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) แบ่งเป็น 3 สาขา
         1.2.1 สาขากายภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพเป็นหลัก ได้แก่ เคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ตัวอย่างเช่น การสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี การปรับปรุงวัสดุด้วยกระบวนการทางเคมี การสร้างสมการคณิตศาสตร์จากการศึกษาธรรมชาติ ฯลฯ
                 รวมถึงโครงงานที่เข้าข่ายเนื้อหาตาม Categories ต่อไปนี้ของ International Science and Engineering Fair (ISEF): Chemistry (CHEM), Earth and Environmental Sciences (EAEV), Materials Science (MATS), Mathematics (MATH), Physics and Astronomy (PHYS) เป็นต้น อ่านรายละเอียดตัวอย่างเนื้อหาได้ที่ https://www.societyforscience.org/isef/categories-and-subcategories/
         1.2.2 สาขาชีวภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นหลัก ได้แก่ ชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ ตัวอย่างเช่น การศึกษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การย่อยสลายด้วยเอนไซม์ การศึกษาด้านยีน และโปรตีนฯลฯ
                 รวมถึงโครงงานที่เข้าข่ายเนื้อหาตาม Categories ต่อไปนี้ของ International Science and Engineering Fair (ISEF): Animal Sciences (ANIM), Biochemistry (BCHM), Biomedical and Health Sciences (BMED), Cellular and Molecular Biology (CELL), Computational Biology and Bioinformatics (CBIO), Materials Science (MATS), Microbiology (MCRO), Plant Sciences (PLNT) เป็นต้น อ่านรายละเอียดตัวอย่างเนื้อหาได้ที่ https://www.societyforscience.org/isef/categories-and-subcategories/
         1.2.3 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หมายถึง โครงงานที่ใช้บูรณาการวิทยาศาสตร์หลายสาขา ซึ่งอาจแสดงได้ด้วยชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้นที่มีกระบวนการวางแผน ออกแบบและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ หรือแสดงด้วยข้อมูลการทดลอง ได้แก่ โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านการจัดการ ด้านพลังงาน โครงงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาหารและสุขภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการหุ่นยนต์ เป็นต้น
                 รวมถึงโครงงานที่เข้าข่ายเนื้อหาตาม Categories ต่อไปนี้ของ International Science and Engineering Fair (ISEF): Biomedical Engineering (ENBM), Behavioral and Social Sciences (BEHA),Computational Biology and Bioinformatics (CBIO), Embedded Systems (EBED), Energy: Sustainable Materials and Design (EGSD), Engineering Technology: Statics and Dynamics (ETSD), Environmental Engineering (ENEV), Materials Science (MATS), Robotics and Intelligent Machines (ROBO), Systems Software (SOFT), Translational Medical Science (TMED) เป็นต้น อ่านรายละเอียดตัวอย่างเนื้อหาได้ที่ https://www.societyforscience.org/isef/categories-and-subcategories/

2. การสมัคร
   
2.1 ระดับของนักเรียนผู้มีสิทธิ์ส่งโครงงาน
         2.1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
         2.1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

    2.2 จำนวนนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนนักเรียนในแต่ละโครงงาน มีได้ไม่เกิน 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษามีได้ไม่เกิน 3 คน และต้องมีอาจารย์ประจำของโรงเรียนร่วมด้วย อย่างน้อย 1 คน

3. ขั้นตอนการสมัคร
    3.1 กรอกใบสมัครออนไลน์ที่ www.scisoc.or.th/sciweek พร้อมอัพโหลด บทคัดย่อ แบบข้อเสนอโครงงาน และรายงาน ซึ่งทำขึ้นตามรูปแบบที่กำหนด
    3.2 จัดทำไฟล์รายงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่กำหนด พร้อมส่งไฟล์รายงานในรูปแบบ pdf (ตามประกาศของแต่ละศูนย์ภูมิภาค) ไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประจำศูนย์ภูมิภาคต่าง ๆ
    3.3 เมื่อได้รับเอกสารทั้งหมด ศูนย์ภูมิภาคจะพิจารณาโครงงาน จากนั้นจึงแจ้งผลและรายละเอียดในการประกวดให้ทราบ (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับศูนย์ภูมิภาคที่รับผิดชอบ)

12 ก.ค.66

ศูนย์ภาคแจ้งเรื่องเชิญชวนส่งใบสมัครและข้อเสนอโครงงาน

10 ก.ค.66

ก่อนเวลา  24.00  น.

หมดเขตรับสมัครข้อเสนอโครงงาน และอัพโหลดไฟล์ข้อเสนอโครงงาน เข้าระบบรับสมัครของสมาคมและ Google Form ของศูนย์ฯ

14 ก.ค.66

ก่อนเวลา  16.00  น.

ศูนย์ภูมิภาคแจ้งตอบรับใบสมัครเข้าแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์

31 ก.ค.66

ประกาศผลการคัดเลือก

1-7 ส.ค.66

โรงเรียนแจ้งยืนยันจำนวนโครงงานที่ส่งเข้าประกวดมายังศูนย์ภูมิภาค พร้อมส่งเอกสารการจัดทำโครงงานฉบับสมบูรณ์ ในรูป pdf file (ตามประกาศของแต่ละศูนย์ภูมิภาค) เพื่อศูนย์ภูมิภาคทำการคัดเลือก

16-18 ส.ค.66*

คณะกรรมการระดับภาคตัดสินโครงงาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

30 ส.ค.66*

ศูนย์ภูมิภาคส่งผลการตัดสินโครงงานระดับภาค มายังสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ

หมายเหตุ 1) วันที่และระยะเวลา แต่ละศูนย์ภูมิภาคจะเป็นผู้พิจารณา
            2) การดำเนินการของโครงงานต้องอยู่ในช่วงไม่เกิน 12 เดือนนับถึงวันสมัคร
            3) โครงงานต้องไม่เคยได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติมาก่อน หากได้รับรางวัลหลังจากสมัครแล้ว โรงเรียนต้องแจ้งให้ศูนย์ภูมิภาค หรือแจ้งสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ทราบหากว่าได้เข้าประกวดระดับประเทศ

 4. รางวัล
     ระดับภูมิภาค ในแต่ละระดับนักเรียนและสาขาโครงงาน
        รางวัลสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
          - เหรียญทอง 3 สาขา ๆ ละ 2 รางวัล          เงินสนับสนุนรางวัลละ 4,000 บาท และเกียรติบัตร
          - เหรียญเงิน 3 สาขา ๆ ละ 3 รางวัล           เงินสนับสนุนรางวัลละ 3,000 บาท และเกียรติบัตร
          - เหรียญทองแดง 3 สาขา ๆ ละ 4 รางวัล     เงินสนับสนุนรางวัลละ 2,000 บาท และเกียรติบัตร
          - รางวัลเชิดชูเกียรติ ได้รับเกียรติบัตร (จำนวนรางวัลไม่เกิน 10% ของจำนวนโครงงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดในแต่ละสาขา)
    รางวัลสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
          - เหรียญทอง 3 สาขา ๆ ละ 3 รางวัล          เงินสนับสนุน รางวัลละ 5,000 บาท และเกียรติบัตร
          - เหรียญเงิน 3 สาขา ๆ ละ 3 รางวัล           เงินสนับสนุน รางวัลละ 3,500 บาท และเกียรติบัตร
          - เหรียญทองแดง 3 สาขา ๆ ละ 3 รางวัล     เงินสนับสนุน รางวัลละ 2,500 บาท และเกียรติบัตร
          - รางวัลเชิดชูเกียรติ ได้รับเกียรติบัตร (จำนวนรางวัลไม่เกิน 10% ของจำนวนโครงงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดในแต่ละสาขา)
    เกียรติบัตรและเหรียญรางวัล สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนทุกโครงงานที่ได้รับรางวัล

5. การตัดสิน
    การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    5.1 ภาพรวมของโครงงาน
         ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            - ความแปลกใหม่ของปัญหา การเสนอแนวคิด และการระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษา (เป็นการดัดแปลงจากผู้ที่เคยทำมาก่อน หรือการคิดขึ้นใหม่)
            - การออกแบบการทดลอง (เป็นการดัดแปลงจากที่ผู้อื่นเคยทำมาก่อนหรือการคิดขึ้นใหม่ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการวัดและควบคุมตัวแปร วิธีการรวบรวมข้อมูล การทดลองซ้ำ การเลือกและทดสอบความเหมาะสมของอุปกรณ์เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมละเอียดรอบคอบสอดคล้องกับปัญหา)
         การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)
            - การสังเกตที่นำมาสู่ปัญหา
            - การตั้งสมมุติฐานที่ถูกต้อง ชัดเจน
            - การให้นิยามเชิงปฏิบัติการอย่างถูกต้อง
            - การทำการทดลอง โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและเหมาะสม
         การแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
            - การใช้หลักการทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับความรู้และปัญหาโดยมีความเข้าใจอย่างดี
            - การอ้างถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความเข้าใจในความรู้ที่อ้างถึงเป็นอย่างดี
         การแสดงหลักฐานการบันทึกข้อมูลอย่างเพียงพอ
            - การบันทึกข้อมูลมีเพียงพอ ต่อเนื่อง และเป็นระเบียบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียดถี่ถ้วน ความมานะบากบั่น
            - ความตั้งใจจริงในการทำการทดลอง
         คุณค่าของโครงงาน
            - ควรระบุคุณค่าหรือประโยชน์ของโครงงาน และ/ หรือประโยชน์ในด้านการแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อม สังคม
    5.2 การนำเสนอรายงาน
         รายงาน (ไม่เกิน 15 หน้า ไม่รวม กิตติกรรมประกาศ สารบัญตาราง และ สารบัญรูปภาพ และภาคผนวกอีกไม่เกิน 5 หน้า หากเกินจะถูกหักคะแนน) ในการเขียนรายงานในส่วนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอให้เนื้อหากระชับเท่าที่จำเป็น ขอให้นักเรียนเขียนส่วนผลการทดลองและอภิปรายผลให้ละเอียดชัดเจน
         ความถูกต้องของแบบฟอร์ม
            - ครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญ แบ่งแต่ละหัวข้อออกอย่างชัดเจน ตามลำดับ (บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ บทนา เอกสารที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการทดลองและการอภิปรายผล สรุปผล ข้อเสนอแนะ (หากมี) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม และภาคผนวก)
         ผลการทดลองและอภิปรายผล
            - แสดงผลในลักษณะรูปภาพ กราฟ ตาราง ต้องมีความถูกต้อง เหมาะสม กะทัดรัดและชัดเจน ไม่ควรมีความซ้ำซ้อนของการนำเสนอ เช่น การเสนอในรูปแบบตาราง ก็ไม่ควรมีกราฟที่เป็นข้อมูลเดียวกันแสดงอีก
            - การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมีหรือไม่ เช่น ค่าเฉลี่ย + ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล (ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล
            - อภิปรายการทดลองได้อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ เปรียบเทียบผลที่ได้กับที่เคยมีผู้รายงานไว้ในการศึกษาคล้ายกัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน มีข้อเสนอแนะหรือสมมุติฐานสำหรับการศึกษาทดลองต่อไป
        การใช้ภาษาและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์
            - ต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน รัดกุม และสละสลวย สามารถสื่อข้อมูลที่สาคัญให้ผู้อ่านเข้าใจได้เป็นอย่างดี
        การสรุปผลการทดลอง
            - สรุปผลการทดลองทั้งหมดที่ได้ (ไม่ต้องอธิบายเหตุผล) โดยอาจเขียนสรุปเป็นข้อ ๆ
        การอ้างอิงในเนื้อหา ควรทำให้ถูกต้องตามหลักสากล ซึ่งมี 2 แบบ ให้เลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
            ก) แบบที่อ้างอิงด้วยชื่อ จะตามด้วย ปี เช่น “จากรายงานของธวัชชัย สันติสุข (2532) พบว่า………..”
            ข) แบบที่อ้างด้วยระบบตัวเลข ซึ่งจะเรียงลำดับการอ้างอิงก่อนหลัง เช่น “จากรายงานที่เกี่ยวกับการสกัดคลอโรฟิลล์จาก สาหร่าย พบว่า ……….(1)”

 

Related Articles

sponsored

...
...
...
...