ระเบียบการให้บริการ
  1. ห้องปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์เปิดให้บริการแก่ อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นิสิตและบุคคลทั่วไป ทั้งภาครัฐและเอกชน

  2. เวลาเปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ 09.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น.

  3. เวลาเปิดให้บริการนอกเวลาราชการ ซึ่งจะต้องจ่ายเงินค่าใช้บริการเพิ่มจากอัตราปกติ 1 เท่า
    ก. วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 – 20.00 น.
    ข. วันเสาร์ เวลา 09.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. (ต้องใช้บริการอย่างน้อย 3 ชั่วโมง)
  1. เปิดให้บริการดังรายการต่อไปนี้
    ก. ให้บริการกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM)
    ข. ให้บริการกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM)
    ค. ให้บริการกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเพื่อวิเคราะห์ธาตุ (X-Ray analysis)
    ง. ให้บริการกล้องจุลทรรศน์ (Optical Microscope)
        - Bright-field microscope
        - Differential interference contrast microscope
        - Fluorescence microscope
        - Stereoscope
    จ. ให้บริการเตรียมตัวอย่างสำหรับดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน
    ฉ. ให้บริการตัดและย้อมตัวอย่างเพื่อศึกษาเพื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน
    ช. ให้บริการเตรียมตัวอย่างสำหรับดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
    ซ. ให้บริการทำแห้งตัวอย่างแบบวิกฤติ (CPD)
    ฌ. ให้บริการเคลือบผิวตัวอย่างด้วยโลหะหนักหรือคาร์บอน
  1. ผู้ขอใช้บริการสามารถจองใช้เครื่องมือของห้องปฏิบัติการฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันก่อนวันใช้บริการ โดยจองได้ไม่เกิน 2 วันต่อสัปดาห์ต่อคน

  2. กรณีผู้ขอใช้บริการไม่สามารถมาใช้บริการได้ตามวันและเวลาที่กำหนด ต้องแจ้งยกเลิกก่อนวันใช้บริการอย่างน้อย 1 วัน ถ้าไม่แจ้งล่วงหน้าจะต้องชำระค่าบริการ 1 ใน 3 ของจำนวนเงินที่ต้องจ่าย

  3. กรณีผู้ขอใช้บริการมาใช้บริการช้าเกิน 15 นาที ทางห้องปฏิบัติการฯ ขอยกเลิกการให้บริการ และผู้ขอใช้บริการต้องชำระค่าบริการตามข้อ 6

  4. กรณีต้องการใช้บริการห้องปฏิบัติการฯ เพื่อการเรียน-การสอน ภาควิชาต้องทำบันทึกข้อความขอใช้เครื่องมือต่อคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อจองเวลาล่วงหน้าและอาจได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่าย

  5. บุคลากรหรือหน่วยงานที่มีข้อตกลงความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัดที่มีข้อตกลงความร่วมมือ

 

หมายเหตุ: สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้องปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์ ห้อง MS 104 ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 โทรศัพท์ 0 3810 3042  โทรสาร 0 3839 4480

 

รายการ หน่วย ค่าบริการ (บาท)
อัตราที่ 1 อัตราที่ 2 อัตราที่ 3
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กทรอนแบบส่องกราด และวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุ (Scanning Electron Microscope; SEM)
1. การเตรียมตัวอย่าง        

1.1 การเตรียมตัวอย่างชีวภาพจนถึงการติด stub

ตัวอย่างละ 800 1,500 2,000

1.2 การเตรียมตัวอย่างวัสดุศาสตร์จนถึงการติด stub
- เพิ่มตัวอย่าง

5 ตัวอย่าง
ตัวอย่างละ
500
100
1,000
200
1,500
300  

1.3 การเคลือบตัวอย่าง

       
    • เคลือบทอง (ไม่เกิน 7 ตัวอย่าง)
ครั้งละ 400 600 800
    • เคลือบคาร์บอน (ไม่เกิน 7 ตัวอย่าง)
ครั้งละ 400 600 800

1.4 ค่า critical point dry

ครั้งละ 400 600 800
2. การใช้กล้อง SEM        

2.1 SE, BE, VPSE Detector

ชั่วโมงละ 700 1,200 1,800

2.2 X-ray Detector

ชั่วโมงละ 1,000 1,600 2,500
3. การพิมพ์สีบนกระดาษ A4 แผ่นละ 30 40 50
 
กล้องอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope; TEM)
1. การเตรียมตัวอย่างทางชีวภาพและวัสดุศาสตร์        

1.1 การเตรียมตัวอย่างปกติจนถึงฝังตัวอย่างในพลาสติก
(1 sample ไม่เกิน 10 block)

ตัวอย่างละ 1,000 1,500 2,500

1.2 การฝังตัวอย่างในพลาสติก
- เพิ่มตัวอย่าง

5 ตัวอย่าง
ตัวอย่างละ
750
150
1,250
150
1,500
200

1.3 Semithin section

1 block = 3 slide 300 400 500

1.4 Ultrathin section
- ใช้ Supported grid เพิ่ม

1 block = 3 grids
grid ละ
400
100
700
100
1,000
100
2. การเตรียมตัวอย่างบน formvar coated grid        

2.1 ไม่ต้องย้อม

1 grid 200 350 500

2.2 Negative stain

1 grid 300 400 600
3. การเตรียมตัวอย่างบน Holey carbon coated grid grid ละ 300 400 600
4. การใช้กล้อง TEM ชั่วโมงละ 1,000 1,500 2,000

5. กล่องใส่แผ่นสไลด์ ขนาด 12, 25, 50 แผ่น
และ 100 แผ่น

กล่องละ

50, 70, 100
และ 200
70, 100, 150
และ 250
100, 150, 200
และ 300
6. ถ่ายภาพลง negative film พร้อมล้าง ฟิล์มละ 200 250 300
 
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงพร้อมชุดถ่ายภาพดิจิตอล (Optical microscope)
1. Bright field & DIC light microscopes ชั่วโมงละ 150 300 500
2. Fluorescence microscope ชั่วโมงละ 200 500 1,000
3. Stereoscope ชั่วโมงละ 150 300 500

 

หมายเหตุ

- ผู้ขอใช้บริการต้องนำแผ่น CD-R มาบันทึกผลด้วยตนเอง

 

 

ความเป็นมา

       กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการเรียนการสอนและงานวิจัยแขนงต่าง ๆ ในด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งงานด้านการแพทย์ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่องานวิจัยและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องมือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย ดังนั้นจึงเริ่มก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เพื่อให้บริการแก่คณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนผู้สนใจทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยใช้งบประมาณของคณะวิทยาศาสตร์ และเงินกู้จากธนาคารโลก

วัตถุประสงค์

       1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน และการค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ทุกแขนง
       2. เพื่อให้บริการทางด้านการวิจัยและวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน
       3. ให้บริการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

โปรดอ่านก่อนนำตัวอย่างส่งวิเคราะห์
   
ห้องปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์. 038-394480
Email: microscopic.center@buu.ac.th

 

ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Line Official Account