Chromatography

 

 

เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี
(Gas Chromatography, GC)



       เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างและแยกสารผสมที่สามารถระเหยได้หรือกลายเป็นไอได้ เช่น การวิเคราะห์สารอินทรีย์ไอระเหยง่าย เบนซีน โทลูอีน แอลกอฮอล์ เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้งานวิเคราะห์ทางด้านเคมี สิ่งแวดล้อม รวมถึงนิติวิทยาศาสตร์

       เครื่องมือนี้ประกอบไปด้วย 2 ตัวตรวจวัด ได้แก่
              1. Flame ionization detector (FID)  เหมาะสำหรับสารที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ด้วยเปลวไฟ สารประกอบพวกอินทรีย์ (organic compounds) สารที่มี C-C, C-H bonds
              2. Mass spectrometer (MS) เหมาะสำหรับสารทุกชนิดที่มี Mass range 10-1050 m/z สามารถวิเคราะห์สารที่มีความเข้มข้นต่ำ ๆ ได้ดี

       เครื่องนี้มีส่วนฉีดสาร 3 ชนิด ได้แก่
              1. Liquid injection สามารถฉีดสารตัวอย่างที่อยู่ในตัวทำละลายอินทรีย์ได้ สูงสุด 150 ตัวอย่าง แบบอัตโนมัติ สามารถใช้ตัวตรวจวัดได้ทั้ง Flame ionization detector และ Mass spectrometer 
              2. Quick probe สามารถฉีดตัวอย่างที่อยู่ในรูปของแข็ง และของเหลว และต่อตรงไปยังตัวตรวจวัดชนิด Mass spectrometer ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการแยกใน Capillary column
              3. Purge and trap เหมาะสำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างที่เป็น VOCs BTEX หรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย อื่น ๆ สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทั้งของแข็งและของเหลว

       อัตราค่าบริการ : ยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ หากต้องการวิเคราะห์ทดสอบกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่


 

เครื่องมือเคมีวิเคราะห์ทางด้านโครมาโทรกราฟี
(Chromatography Instrumentation)


 

High performance liquid chromatography

       เทคนิคที่ใช้สำหรับวิเคราะห์และแยกสารผสมได้ทั้งสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การแยกสารจะอาศัยความแตกต่างระหว่าง 2 เฟสคือ เฟสคงที่ และ เฟสเคลื่อนที่ โดยเฟสคงที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่เคลือบอยู่บนของแข็ง บรรจุอยู่ในรูปของคอลัมน์ ส่วนเฟสเคลื่อนที่ เป็นของเหลว เรียกว่าสารละลายตัวชะ Eluent การแยกสารจะอาศัยอันตรกิริยาที่เกิดระหว่างสารที่วิเคราะห์กับคอลัมน์ สารตัวชะจะพาสารเข้าสู่คอลัมน์โดยอาศัยปั๊ม และเกิดการแยกที่คอลัมน์ สารแต่ละชนิดที่แยกแล้วจะเข้าสู่ตัวตรวจวัด (Detector) ตามลำดับ การควบคุมการทำงานจะควบคุมที่ตัวเครื่อง หรือโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ แสดงผลออกมาเป็นกราฟความสัมพันธ์ของเวลาและสัญญาณทางไฟฟ้า เรียกว่าโครมาโทรแกรม

Science Innovation Facility, Faculty of Science, Burapha University