อิทธิพลของมาเลอิคแอนไฮไดรด์และโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตต่อ สมบัติเชิงกลของพอลิแลคติคแอซิคอมปาวด์
Abstract
บทคัดย่อ
พอลิแลคติคแอซิดเป็นพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่รู้จักกันดี การผสมพอลิแลคติคแอซิดกับพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ ที่ได้มาจากแหล่งปลูกทดแทนได้กำลังเป็นวิธีการนิยมสำหรับการลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงสมบัติของพอลิแลคติคแอซิด โดยที่ยังคงรักษาคุณลักษณะความเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพได้ แป้งมันสำปะหลังเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่นำมาผสมกับพอลิแลคติคแอซิด เร็วๆนี้ ได้มีการนำยางธรรมชาติเป็นสารเพิ่มความเหนียวของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิดและแป้งมันสำปะหลัง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการตรวจสอบอิทธิพลของมาเลอิคแอนไฮไดรด์และโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตต่อความเหนียวทนแรงของพอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์ ที่มีส่วนผสมของพอลิแลคติคแอซิด 80% แป้งมันสำปะหลัง 20% และยางธรรมชาติ 10 ส่วนต่อร้อยส่วนของน้ำหนักพอลิแลคติคแอซิดและแป้งมันสำปะหลัง พอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์นี้เตรียมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ที่ 150°C และขึ้นรูปด้วยเครื่องอัด ทำการตรวจสอบสมบัติความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อแรงกระแทก เติมสารริเริ่มชนิด Lupradox®L101 ในปริมาณ 10% และ 25% โดยน้ำหนักของมาเลอิคแอนไฮไดรด์ พบว่าที่ปริมาณ 25% ช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกล อิทธิพลของปริมาณโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่ศึกษาอยู่ในช่วง 0.25-1.00% พบว่าโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตเพิ่มความต้านทานต่อแรงกระแทก ทำการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของพอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงกลอุณหพลศาสตร์ เทคนิคสแกนนิงแคลอริเมตตรี เทคนิคเทอร์โมกราวิเมตตรี และกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด
คำสำคัญ : พอลิเมอร์ย่อยสลายทางชีวภาพ แป้งมันสำปะหลัง ยางธรรมชาติ พอลิแลคติคแอซิด แหล่งทดแทนได้
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.