ojs2 has produced an error Message: WARNING: mkdir(): Permission denied In file: /var/www/html/ojs246_old/lib/pkp/classes/file/FileManager.inc.php At line: 306 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
ojs2 has produced an error Message: WARNING: assert(): Assertion failed In file: /var/www/html/ojs246_old/plugins/generic/usageStats/UsageStatsPlugin.inc.php At line: 308 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
การบำบัดสารประกอบไนโตรเจนด้วยถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน-ดีไนทริฟิเคชัน | ธนะกิจไพรินทร์ | งดใช้ระบบ 3-31 กค 66 Burapha Science Journal

การบำบัดสารประกอบไนโตรเจนด้วยถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน-ดีไนทริฟิเคชัน

เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินทร์, เพ็ญพิชชา พินิจธนภาคย์, สรวิศ เผ่าทองศุข, วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี

Abstract


งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำตัวกรองชีวภาพเพื่อใช้ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน  โดยผ่านปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันภายในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน  เพื่อการประยุกต์ใช้ในระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบปิด  ซึ่งตัวกรองชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชันได้แก่ วัสดุเส้นใยไบโอคอร์ตและหินพัมมิสบด  ส่วนตัวกรองชีวภาพที่ใช้บำบัดผ่านกระบวนการดีไนทริฟิเคชันคือหินพัมมิสบด  โดยการทดลองเริ่มจากการตรวจวัดอัตราการบำบัดไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันของตัวกรองชีวภาพแต่ละชนิด  หลังจากนั้นนำตัวกรองชีวภาพ            ที่เหมาะสมบรรจุลงในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน  เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน  ซึ่งถังปฏิกรณ์ชุดควบคุมและชุดทดลองทุกถังจะบรรจุหินพัมมิสบดหนา 5 ซม.  แต่ถังปฏิกรณ์ชุดทดลองจะเพิ่มการบรรจุเส้นใยไบโอคอร์ตยาว 1 ม.ร่วมกับหินพัมมิสบด  โดยการเปรียบเทียบการบำบัดสารแอมโมเนียและไนเทรต ระหว่างสภาวะที่เติมและไม่เติมเมทานอล            ลงในชั้นนํ้าเสียสังเคราะห์ ที่อัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตไนโตรเจนเท่ากับ 5:1  ผลการทดลองพบว่าถังปฏิกรณ์ทุกชุดการทดลองสามารถบำบัดแอมโมเนียได้อย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชัน  โดยไม่พบการสะสมของไนไทรต์รวมทั้งการเติมเมทานอลช่วยเร่งการเกิดกระบวนการดีไนทริฟิเคชันได้อย่างสมบูรณ์  รวมทั้งไม่มีผลยับยั้งการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคภายใต้สภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนละลายนํ้าเหมาะสม  นั่นคือความเป็นไปได้ที่จะนำถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน–ดีไนทริฟิเคชันสู่การประยุกต์ใช้ในการบำบัดไนโตรเจนภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าหมุนเวียนแบบปิด


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.