แบบจำลองค่าสุดขีดปริมาณน้ำฝนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายเดือน และรายปีด้วยการแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนภายใต้กระบวนการคงที่การแจกแจงฟรีเซตเป็นการแจกแจงที่เหมาะสมเกือบทุกสถานี และภายใต้กระบวนการไม่คงที่ มีเพียงสถานีอุตุนิยมวิทยาเลยสถานีเดียวที่มีการแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป เมื่อพารามิเตอร์บอกตำแหน่งเปลี่ยนแปลงในเชิงเส้นตรงเป็นรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับข้อมูลปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายปีมีเพียง 3 สถานีที่มีความเหมาะสม ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถานีอุตุนิยมวิทยาหนองคาย สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี และสถานีอากาศเกษตรนครพนม ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้กระบวนการคงที่ การแจกแจงกัมเบลเป็นการแจกแจงที่เหมาะสมที่สุด และภายใต้กระบวนการไม่คงที่ พบว่า การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป เมื่อพารามิเตอร์บอกตำแหน่งเปลี่ยนแปลงในเชิงเส้นตรงมีความเหมาะสมสำหรับสถานีอุตุนิยมวิทยาหนองคาย และสถานีอากาศเกษตรนครพนม และเป็นที่น่าสังเกตว่า สถานีอากาศเกษตรนครพนม และ สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี มีระดับการเกิดซ้ำสูงกว่าสถานีอื่น ๆ ในทุก ๆ รอบปีการเกิดซ้ำ ทั้งข้อมูลรายเดือน และรายปี ดังนั้นในการป้องกันอุทกภัยควรให้ความสำคัญกับสถานีดังกล่าวมากกว่าสถานีอื่น
คำสำคัญ : การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป ระดับการเกิดซ้ำ รอบปีการเกิดซ้ำ
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.