ojs2 has produced an error Message: WARNING: unlink(/var/www/html/ojs246_old/cache/fc-pluginSettings-10-customthemeplugin.php): No such file or directory In file: /var/www/html/ojs246_old/lib/pkp/classes/cache/FileCache.inc.php At line: 57 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
ojs2 has produced an error Message: WARNING: mkdir(): Permission denied In file: /var/www/html/ojs246_old/lib/pkp/classes/file/FileManager.inc.php At line: 306 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
ojs2 has produced an error Message: WARNING: assert(): Assertion failed In file: /var/www/html/ojs246_old/plugins/generic/usageStats/UsageStatsPlugin.inc.php At line: 308 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารทะเล บริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง | ทองระอา | งดใช้ระบบ 3-31 กค 66 Burapha Science Journal

การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารทะเล บริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

ดร.แววตา ทองระอา

Abstract


การบริโภคอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และ ทองแดง ในอาหารทะเลที่ได้จากบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลเหล่านี้ ตัวอย่างอาหารทะเลชนิดต่างๆที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 36 ชนิด จำนวน 369 ตัวอย่างซึ่งเก็บตัวอย่างโดยใช้อวนลากแผ่นตะเฆ่ ในเดือนพฤษภาคม  กันยายน พ.ศ. 2550 และ มีนาคม พ.ศ. 2551 ผลการศึกษา พบว่าโลหะหนักในอาหารทะเลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.8) อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค พบโลหะหนักสูงเกินมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของตัวอย่างทั้งหมด โดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินมาตรฐานเรียงตามลำดับ คือ ทองแดง  สังกะสี  และแคดเมียม ซึ่งส่วนใหญ่พบใน กั้ง หอย และหมึกบางชนิด  การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลในบริเวณดังกล่าว พบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงยังคงปลอดภัยในการบริโภค ยกเว้นผู้บริโภคอาจมีความเสี่ยงในการได้รับทองแดงเกินกำหนดจากการบริโภคกั้งตั๊กแตนและแคดเมียมจากการบริโภคหอยเชลล์

คำสำคัญ: การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ   โลหะหนัก   อาหารทะเล   นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.