ojs2 has produced an error Message: WARNING: mkdir(): Permission denied In file: /var/www/html/ojs246_old/lib/pkp/classes/file/FileManager.inc.php At line: 306 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
ojs2 has produced an error Message: WARNING: assert(): Assertion failed In file: /var/www/html/ojs246_old/plugins/generic/usageStats/UsageStatsPlugin.inc.php At line: 308 Stacktrace: Server info: OS: Linux PHP Version: 5.6.33-0+deb8u1 Apache Version: Apache/2.4.10 (Debian) DB Driver: mysql DB server version: 5.7.27
ผลของสารสกัดเอธิลอะซิเตทจากต้นหญ้ายางต่อการหดตัวของลำไส้หนูขาว | ยันเยี่ยม | งดใช้ระบบ 3-31 กค 66 Burapha Science Journal

ผลของสารสกัดเอธิลอะซิเตทจากต้นหญ้ายางต่อการหดตัวของลำไส้หนูขาว

นิรชา ยันเยี่ยม, นิสิตา บำรุงวงศ์, สมชาย ศรีวิริยะจันทร์

Abstract


ใบหญ้ายางนิยมใช้เป็นยาระบายในประเทศไทย    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบ             หญ้ายางต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กและกลไกการออกฤทธิ์  โดยนำสารสกัดใบหญ้ายางสดด้วยเมธานอล ชั้นเอธิลอะซิเตทและชั้นน้ำที่ได้จากการสกัดด้วยเอธิลอะซิเตทมาศึกษาผลต่อการเคลื่อนที่ของลำไส้เล็กที่แยกออกจากร่างกายหนูทดลอง จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมธานอลและชั้นเอธิลอะซิเตทของใบหญ้ายางไม่เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กหนู ส่วนสารสกัดชั้นน้ำสามารถทำให้ลำไส้เล็กของหนูหดตัวเพิ่มขึ้นและแปรผันตามปริมาณของสารสกัดชั้นน้ำที่ใช้ ผลของสารสกัดต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กของหนูมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับอะเซทธิลคลอรีน   ฮิสตามีน  และโพแทสเซียมคลอไรด์ และมีลักษณะขึ้นกับความเข้มข้นสาร นอกจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวถูกยับยั้งได้ด้วยอะโทรปีน และเวอราปามิล แต่ไม่ถูกยับยั้งด้วย             คลอเฟนิรามีน   จึงเป็นไปได้ที่การออกฤทธิ์ของสารสกัดใบหญ้ายางชั้นน้ำจากการสกัดด้วยเอธิลอะซิเตทต่อการหดตัวของลำไส้เล็กของหนูจะผ่านทางตัวรับมัสคารินิกและช่องทางเข้าเซลล์ของแคลเซียม การออกฤทธิ์ดังกล่าวจึงมีประโยชน์ในแง่            การใช้ใบหญ้ายางเป็นยาระบาย

คำสำคัญ  ต้นหญ้ายาง   ลำไส้   การหดตัว   ยาระบาย


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.