ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

" มุ่งพัฒนาศักยภาพของดุษฎีบัณฑิต ให้สามารถมีความรู้พื้นฐานสําหรับการต่อยอด ตลอดจนความเชี่ยวชาญระดับลึกและมีทักษะในการทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติและการมีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ"

ข้อมูลทั่วไป

        วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นพื้นฐานความรู้ที่สําคัญในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ สาธารณสุข อุตสาหกรรม การเกษตร การผลิตอาหาร พลังงานทดแทน และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ความรู้ดังกล่าวเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคม นอกจากนี้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ชีวภาพของประเทศไทย ยังสามารถเป็นองค์ความรู้ใหม่ในประชาคมโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ยังขาดข้อมูลพื้นฐานอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากผลสืบเนื่องของการพัฒนาที่ ไม่เหมาะสม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร หรือการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีทักษะในการทําวิจัย และสามารถก้าวทันวิทยาการทาง วิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงความจําเป็นอย่างยิ่ง

        วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีธรรมชาติที่เป็นพหุสาขาวิชาที่ต้องบูรณาการศาสตร์หลายๆ ด้าน ซึ่ง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนารุดหน้าไปมากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เทคนิค และเครื่องมือการทําวิจัยที่ทันสมัย และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใหม่ๆ ในขณะที่บุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทยยังขาดโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้มีประสบการณ์ทัดเทียมกับความก้าวหน้าเหล่านี้ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จึงเปิดโอกาสให้บุคคลากรด้าน วิทยาศาสตรืชีวภาพได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้ที่ทํางานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง อันจะนํามาซึ่งการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ยังตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากร และปัญหาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัย ที่จะเผยแพร่ในวารสารที่มีผลกระทบสูง สร้างความรู้สู่ชุมชน การต่อยอดงานวิจัย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาชุมชนได้ตรงจุด

        ปัญหาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต และการพัฒนาประเทศ นับแต่จะทวีความซับซ้อน ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องอาศัยมุมมอง และความรู้เชิงบูรณาการ ลักษณะการเรียนรู้ที่เป็นพหุสาขาวิชาดังเช่น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จะเปิดโลกทัศน์ของนิสิตดุษฎีบัณฑิตให้เชื่อมโยงความรู็จากหลายแขนงในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นการเรียนการสอนลักษณะดังกล่าวจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของการผลิตความรู้พื้นฐาน และประยุกต์ ที่จะเป็นต้นทุนคลังปัญญาของประเทศสําหรับการพัฒนาที่ยังยืน และในแง่ของการฝึก ทักษะของนิสิตดุษฎีบัณฑิตให้คิดวิเคราะห์ปัญหา หรือโจทย์การวิจัยในลักษณะบูรณาการ

รายละเอียดหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตจะมีสมรรถนะดังนี้

  1. มีความรู้ความสามารถในการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ข้อ 3.1 ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่ ERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse (เอกสาร แนบ 7)
  2. มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  3. มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่สาธารณชน
  4. มีความสามารถถ่ายทอดความรู้ พัฒนาความร่วมมือวิจัยและเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  5. มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ


จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

สำหรับหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

  • หลักสูตรแบบ 1.1

          สําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทําดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

  • หลักสูตรแบบ 1.2

          สำหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทําดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

 

รูปแบบของหลักสูตร 
          รูปแบบ:  หลักสูตรปริญญาเอก
          ภาษาที่ใช้: หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
          การรับเข้าศึกษา: รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ดี
          ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน): เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
          การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

แนวทางการประกอบอาชีพ

        อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานทางวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน หน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ ผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอิสระ

ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)