เกี่ยวกับภาควิชา

ประวัติภาควิชาจุลชีววิทยา

       นับตั้งแต่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (มศว.บางแสน) ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2517 นั้น คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องมีต่อสังคมและประเทศชาติ จึงได้ให้ความเอาใจใส่ต่อการเรียนการสอน และการวิจัย เพื่อที่จะให้ได้บัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งความรู้ และคุณธรรม ตามความต้องการของสังคมให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสมอ สำหรับในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 ถึง 2534) นั้น คณะวิทยาศาสตร์นอกจากจะเน้นการผลิตบัณฑิตให้สนองความต้องการตามแผนพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมแล้ว ยังมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดทำโครงการจัดตั้งภาควิชาจุลชีววิทยาขึ้น เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา สนองความต้องการในตลาดแรงงานโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยด้านจุลชีววิทยาเพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ ไปสู่สังคม โดยลำดับการจัดตั้งภาควิชาจุลชีววิทยาสรุปได้ดังนี้

       เมื่อ มศว.บางแสน ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอน 131 และได้มีการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยบูรพา ในช่วงเวลาต่อมานั้นภาควิชาจุลชีววิทยาได้เป็นหน่วยราชการในสังกัดคณะวิทยาศาสตร ์ มีที่ทำการอยู่ที่ ชั้น 5, 6, 7 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

ปณิธานของภาควิชาจุลชีววิทยา

       ภาควิชาจุลชีววิทยา มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในวิชาการด้านจุลชีววิทยา มีคุณธรรมและความรับผิดชอบในการนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

วัตถุประสงค์ของภาควิชาจุลชีววิทยา

       1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาจุลชีววิทยา ให้สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       2. เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ
       3. เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านจุลชีววิทยา และเผยแพร่ความรู้ไปสู่สังคม

คุณสมบัติของบัณฑิต

       บัณฑิตของภาควิชาจุลชีววิทยาได้ผ่านการศึกษาทางวิชาการหลากหลายสาขา ทั้งสาขาจุลชีววิทยาทั่วไป จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาด้านการแพทย์และสาธารณสุข จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยาทางการเกษตร จุลชีววิทยาทางอาหาร พันธุวิศวกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ฝึกงานตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 200 ชั่วโมงนอกจากนี้นิสิตยังได้ทำงานวิจัยในหัวข้อที่น่าสนใจและยังเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ของภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย มากมายหลายกิจกรรม แล้วจึงได้รับได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา (BACHELOR OF SCIENCE IN MICROBIOLOGY) บัณฑิตของภาควิชาจุลชีววิทยาจึงผ่านการฝึกฝนให้เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรอบรู้ในวิชาการด้านจุลชีววิทยา คุณธรรมและความรับผิดชอบ บัณฑิตของภาควิชาเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิต เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความเป็นระเบียบ มีจริยธรรมดี มีพลานามัยสมบูรณ์ มีความเข้าใจในคุณค่าต่าง ๆ ของชีวิต คุณค่าของความเป็นมนุษย์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม สำนึกในหน้าที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติ บัณฑิตจุลชีววิทยาจึงพร้อมเสมอสำหรับการทำงาน อย่างเข้มแข็งอดทนสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะงานได้ทุกสถานการณ์ ทันสมัยเสมอและ ยอดเยี่ยมในการทำงาน

ภาควิชาจุลชีววิทยา

ชั้น 5 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์ 0-3810-3031

 
 

 

สถานที่ตั้ง

FACEBOOK